ตารางนี้ใช้ได้เฉพาะ (ข้อมูลฉบับเต็มของ กฟภ.)
- ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย
- (ประเภท 1.1.1) ติดตั้งมิเตอร์ ขนาด 5(15) แต่ มีค่าไฟเกินกว่า 150 หน่วยต่อเดือน
- (ประเภท 1.1.2) ติดตั้งมิเตอร์ ขนาด 15(45) ขึ้นไป
Version 1.0
เอกสารอ้างอิง ของการไฟฟ้า (นครหลวง / ภูมิภาค)
- ประเภทผู้ใช้ไฟ
- ตารางค่า FT ของการไฟฟ้า
- ส่วนประกอบค่าไฟฟ้า
- การคิดค่าไฟ (สามารถคำนวณผู้ใช้ไฟ ได้ทุกประเภท)
อธิบายการทำงานของตารางนี้
- ตารางนี้กรอกข้อมูลเฉพาะส่วนที่เป็นสีเทาเท่านั้น ที่เหลือเป็นสูตรการคำนวณ ไม่จำเป็นต้องไปทำอะไร นอกจากการไฟฟ้าจะเปลี่ยนแปลง อัตราค่าไฟ, ค่า FT และ ค่าบริการ (ซึ่งไม่ใช่จะเปลี่ยนกันได้บ่อยๆ)
- ตารางส่วนแรก สีแดงเข้มไปจนถึงสีแดงอ่อน คือ ค่าไฟที่เราจ่ายให้การไฟฟ้า โดยจะประกอบไปด้วย
- ค่าไฟฐาน คือ จำนวนค่าไฟจากการคำนวนอัตราค่าไฟในระดับต่างๆ ตั้งแต่ 1 หน่วยเป็นต้นไป จนถึงหน่วยสุดท้ายที่เราใช้ บวก กับ ค่าบริการซึ่งคงที่
- ค่า FT ซึ่ง ถ้ามีการประกาศปรับค่า FT เราต้องมาเปลี่ยนค่า FT ในตารางนี้ด้วย แต่ค่า FT จะไม่ค่อยมีการปรับเปลี่ยนเท่าไหร่
- ภาษีมูลค่าเพื่ม 7%
- ตารางส่วนที่สอง สีฟ้าน้ำทะเล คือ การผลิตไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เรามี
- ระบบ On Grid คือ การเก็บค่าพลังงานที่ได้ในแต่ละเดือนของ Grid Tie Inverter ทั้งนี้เราต้องมีวัตต์มิเตอร์ในการวัดค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ด้วย
- ระบบ Off Grid คือ พลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ไปในแต่ละเดือน (ไม่ใช่การผลิตไฟฟ้านะครับ) ซึ่งปกติเป็นการวัดการใช้ไฟที่ออกจากแบตเตอรี่
- มีระบบใดระบบหนึ่งก็กรอกแค่ข้อมูลเดียว มีสองระบบก็กรอกทั้งหมด
- ตารางส่วนที่สาม สีเขียว คือ การใช้ไฟรวมทั้งหมด (การไฟฟ้า+พลังงานแสงอาทิตย์) ในแต่ละเดือนของเราเอง เอามาคำนวนค่าไฟที่ต้องจ่ายในกรณีไม่มีพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยเลย ซึ่ง ส่วนต่างก็คือจำนวนเงินที่เราประหยัดได้
การใช้งาน
- กรอกข้อมูลจำนวนหน่วย ตามบิลค่าไฟฟ้าที่ได้รับ ในช่องสีเทา โปรแกรมจะคำนวณค่าไฟฟ้าให้ทันที ในช่องสีแดงอ่อนทางขวา
- ในช่องสีแดงอ่อน ทำการตรวจสอบค่าไฟฟ้า ว่าตรงกับใบแจ้งค่าไฟหรือไม่ ถ้าไม่ตรงให้ตรวจสอบว่าอยู่ในเกณท์ตามข้อมูลข้างต้นหรือไม่
- ทำการกรอกข้อมูลจำนวนหน่วย (Kw) ที่สามารถผลิตไฟได้ในระบบ On Grid และ/หรือ ข้อมูลการใช้ไฟในระบบ Off Grid ในช่องสีเทา
- ดูผลลัพธ์ของการใช้ไฟทั้งหมด จากทั้งของการไฟฟ้าบวกกับที่ผลิตได้ และ จำนวนเงินที่สามารถประหยัดได้