ข้อควรระวัง : เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าในการต่อตรงเลยนั้น แรงดันจากแผงจะสูงกว่าแรงดันของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนั้นมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าได้
ยกตัวอย่าง ผมมีโหลดในการใช้งาน 2 ตัวคือ
- ปั๊มน้ำ DC 12volts กินกระแสอยู่ที่ 5amp
- หลอด LED 12volts ให้พลังงานที่ 5watt
- ปั๊มน้ำ DC 12volts กินกระแสอยู่ที่ 5amp
- สำหรับหลอดไฟ กินพลังงานที่ 5watt คำนวนเป็นแอมป์ (P = VxI ) จะได้ 0.41 amp
นั่นคือเราสามารถหาซื้อแผงรับแสงที่มีขนาดกำลังการผลิตกระแสที่ 5.41 amp มาใช้ได้
เมื่อคำนวน จาก P = VxI จะได้ P = 18 volts x 5.41 amp ก็จะได้ขนาดของแผงคือ 97.38 watt (ในท้องตลาดจะมี 100, 120, 160,.... เป็นต้น)
แต่การต่อในลักษณะนี้ กระแสไฟที่ได้จะไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับความแรงของแสงแดดเป็นหลัก และจะใช้งานได้เฉพาะเวลามีแดดจัดๆเท่านั้น เพราะกระแสไฟไม่ได้มีการจัดเก็บ ผลิดเท่าไหร่ก็ใช้ไปเท่านั้น ผลิตได้มากก็สูญเสียไปเปล่าๆ
หมายเหตุ
การคำนวนของโหลดต่างๆ จะคิดแรงดันที่ 12/24volts
การคำนวนของแผง จะคิดแรงดันที่ 18/36volts
คุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่?
- แผงขนาด 100watts แบบโพลี่ ราคาประมาณ 2,000 บาท (ถ้าใช้แค่หลอดไฟ ใช้แผงขนาด 5watt ก็พอ ราคาราว 3-400 บาท)
- ปั๊มน้ำไดอะแฟลม 12volt ราคาประมาณ 400 บาท (อุปกรณ์รดน้ำแยกต่างหาก)
- หลอด LED 5watt ราคาประมาณ 100 บาท
อัตราค่าไฟฟ้า อ้างอิงจากการไฟฟ้า
1000 watt / hr หน่วยละ 2.3488 บาท เท่านั้น (65 watt / hr = 0.15 บาท)
ซึ่งค่าไฟที่ต้องจ่ายให้การไฟฟ้าน้อยมาก ราวๆ 0.75 บาท ต่อวันเท่านั้น ไม่มีความคุ้มค่าเลยกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ถ้าในบริเวณนั้นมีไฟฟ้าเข้าถึง แต่ถ้าไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง เช่น ตามสวน ตามไร่ ก็ใช้ทดแทนได้ดีกว่าต้องลงทุนตั้งเสาลากสายไฟ
จุดคุ้มทุนอยู่ตรงไหน?
จากต้นทุนที่จ่ายทั้งหมดราว 2,500 บาท ถ้าเราต้องจ่ายค่าไฟต่อวันที่ 0.75 บาท จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 3333.33 วัน หรือ ราว 9 ปี ในเงือนไขไม่มีอะไรพังก่อน 9 ปี